ความสำคัญของการเรียนรู้
เดโช
สวนานนท์.(2514:168) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ดังนี้ ปัจจุบันนี้
นักจิตวิทยามาตระหนักกันใหม่ว่า
การเรียนรู้ต่างหากที่เป็นหัวใจของการดำรงชีวิต ทุกคนเกิดมาจะต้องเรียน...เขาจะต้องเรียนจากสิ่งแวดล้อมโดยตัวเขาเองบ้าง
เขาอาจจะต้องเรียนจากบิดามารดาและญาติพี่น้องบ้าง และจากโรงเรียนอีกบ้าง พฤติกรรมเกือบทั้งหมดของมนุษย์ การเดินก็ดี
การรับประทานอาหารก็ดีความรักก็ดี
ความทะเยอทะยานก็ดี
ความกลัวก็ดี และอื่นๆอีกมากต่อมาก ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์เสาะหามาโดยการเรียนรู้ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง ในเมื่อเรายอมรับในความคิดหลักว่า
พฤติกรรมเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้เอง โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ความคิดในเรื่องของการเรียนรู้จึงทวีความสำคัญมากขึ้นๆเป็นลำดับ
สุโท
เจริญสุข.(2515:8)
ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ดังนี้ การอบรมสั่งสอนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ยังสำคัญน้อยกว่าการเรียนอยู่ดี
ที่จริงการอบรมสั่งสอนกับการเรียนก็มีจุดหมายเหมือนกัน คือมุ่งให้คนรู้ ต่างแต่ว่า
การอบรมสั่งสอน
ต้องพึ่งคนอื่นมาอบรมสั่งสอน
มาเป็นผู้อบรมสั่งสอน
ส่วนการเรียนนั้นเป็นเรื่องของตัวเอง
จะเห็นว่าบางเรื่องบางครั้งเราจะรู้ได้เอง
โดยปราศจากคนมาอบรมสั่งสอน
นั่นคือ
รู้ที่เกิดจากการเรียน
และก็มีบางเรื่องบางราวเหมือนกัน
ที่มีคนมาสั่งสอนอบรม
แต่เรากลับไม่รู้นี่ก็หมายความว่า
มีคนมาสอนมาอบรมจริง
แต่เราไม่ได้เรียน
ผลคือเราจึงไม่รู้ “ขณะใดคนเกิดการเรียน
ขณะนั้นคนจะเกิดการรู้แน่ๆ”ส่วนเรื่อง
รู้ผิดรู้ถูก ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง เอาแต่เพียงเรื่องรู้กันก่อนว่า เรียนแล้วก็จะรู้ ไม่เรียนก็ไม่รู้
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt
ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ดังนี้
Richard R. Bootsin กล่าวว่า
Richard R. Bootsin กล่าวว่า
-
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
-
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
-
ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน No
one old to
learn
-
การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
สรุปความสำคัญของการเรียนรู้
สรุปความสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นหัวใจของการดำรงชีวิต การเรียนนั้นเป็นเรื่องของตัวเอง จะเห็นว่าบางเรื่องบางครั้งเราจะรู้ได้เอง การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ที่มา
เดโช
สวนานนท์.(2514).จิตวิทยาสำหรับครูและผู้ปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
สุโท
เจริญสุข.(2515).จิตวิทยาการเรียนการสอนตามแนวพุทธปรัชญาและจิตวิทยาแผนใหม่.กรุงเทพฯ:แพร่พิทยา.